เพลงอาเซียน

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

รายระเอียดประเทศอินโดนีเซีย

ประเทศอินโดนีเซีย
 


 
 
 

อินโดนีเซีย….

ประวัติของประเทศอินโดนีเซีย ???

    อินโดนีเซียประกอบด้วยหมู่เกาะที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน แต่ต่อมาต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์อยู่ประมาณ 301 ปี ในเดือน มกราคม พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2.1 ญี่ปุ่นบุกอินโดนีเซีย และทำการขับไล่เนเธอร์แลนด์เจ้าอาณานิคมของอินโดนีเซียออกไปได้สำเร็จ จึงทำให้ผู้นำอินโดนีเซียคนสำคัญในสมัยนั้นให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่นแต่ไม่ได้ให้ความไว้วางใจกับญี่ปุ่นมากนัก เพราะมีเหตุเคลือบแคลงคือ เมื่อผู้รักชาติอินโดนีเซียจัดตั้งขบวนการต่างๆขึ้นมา ญี่ปุ่นจะขอเข้าร่วมควบคุมและดำเนินงานด้วย

เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามและประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายพันธมิตร อินโดนีเซียได้ถือโอกาสประกาศเอกราชใน พ.ศ. 2488 แต่เนเธอร์แลนด์เจ้าของอาณานิคมเดิมไม่ยอมรับการประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย จึงยกกองทัพเข้าปราบปราม ผลจากการสู้รบปรากฏว่าเนเธอร์แลนด์ไม่สามารถปราบปรามกองทัพอินโดนีเซียได้ จากนั้นอังกฤษซึ่งเป็นพันธมิตรกับเนเธอร์แลนด์จึงเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อให้ยุติความขัดแย้งกัน โดยให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในข้อตกลงลิงกัดยาติ (Linggadjati Agreement) เมื่อ พ.ศ. 2489 โดยเนเธอร์แลนด์ยอมรับอำนาจรัฐของรัฐบาลอินโดนีเซียในเกาะชวาและสุมาตรา ต่อมาภายหลังเนเธอร์แลนด์ได้ละเมิดข้อตกลงโดยได้นำทหารเข้าโจมตีอินโดนีเซียทำให้ประเทศอื่นๆ เช่น ออสเตรเลีย และอินเดียได้ยื่นเรื่องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเข้าจัดการ สหประชาชาติได้เข้าระงับข้อพิพาทโดยตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ออสเตรเลีย เบลเยียม และสหรัฐอเมริกา เพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอมและได้เรียกร้องให้หยุดยิง แต่เนเธอร์แลนด์ได้เข้าจับกุมผู้นำคนสำคัญของอินโดนีเซีย คือ ซูการ์โนและฮัตตาไปกักขัง ต่อมาทหารอินโดนีเซียสามารถช่วยเหลือนำตัวผู้นำทั้งสองออกมาได้ ในระยะนี้ทุกประเทศทั่วโลกต่างตำหนิการกระทำของเนเธอร์แลนด์อย่างยิ่งและคณะมนตรีความมั่นคงได้กดดันให้เนเธอร์แลนด์มอบเอกราชแก่อินโดนีเซีย





ลักษณะภูมิประเทศของอินโดนีเซีย………

 

   อินโดนีเซีย : Indonesia หรือ ชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย : Republik Indonesia  เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนและทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว (อินโดนีเซีย:Kalimantan) , ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินี (อินโดนีเซีย: Irian) และ ประเทศติมอร์ตะวันออกบนเกาะติมอร์ (อินโดนีเซีย: Timor)
 
 
 


ประธานธิปดีของประเทศอินโดนีเซีย(คนปัจจุบัน)


พลโทซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน ( Susilo Bambang Yudhoyono)

พลโทซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน  เป็นประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในปีพ.ศ. 2547 ภายหลังการปฏิรูปการเมืองและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ซึ่งมีการกำหนดให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรงจากประชาชน โดยผู้ที่ได้เป็นประธานาธิบดีต้องได้เสียงมากกว่าร้อยละ 50 ของผู้ออกเสียง และหากไม่มีผู้ได้คะแนนเสียงเกินร้อยละ 50 ในการเลือกตั้งครั้งแรก ให้มีการจัดการเลือกตั้งครั้งที่สอง โดยนำเฉพาะผู้ได้คะแนนเสียงอันดับที่ 1 และ 2 มาแข่งขันกันอีกครั้ง

ประธานาธิบดียูโดโยโน ได้รับชัยชนะเหนือนางเมกาวาตี ซูการ์โนบุตรีในการเลือกตั้งครั้งที่สอง และเข้ามาดำรงตำแหน่งด้วยความคาดหวังอย่างมากจากประชาชน ในการบริหารประเทศและพัฒนาเศรษฐกิจ

ในช่วงแรกอาจไม่ค่อยได้รับการยอมรับจากประชาชน แต่เขาก็สามารถบริหารประเทศได้ดีขึ้นเป็นลำดับ และจัดการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น การเจรจากับอาเจะห์จนเกิดสันติภาพ และการดูแลความขัดแย้งระหว่างเผ่าพันธุ์ต่างๆ จนยุติความรุนแรง รวมทั้งฟื้นฟูเศรษฐกิจของอินโดนีเซียให้มีความเข้มแข็ง เติบโตอย่างรวดเร็ว จนเป็นหนึ่งในประเทศน่าลงทุนในปัจจุบัน ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด (พ.ศ. 2552) ประธานาธิบดียูโดโยโน ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 ด้วยเสียงท่วมท้น และเป็นผู้จุดคบเพลิงในซีเกมส์ครั้งที่26

 
อาหารประจำอาเซีย
 

                                         
              


                                                             ดอกไม้ ประจำชาติ  อินโดนีเซีย                   

   






 
                    







ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย:Republik Indonesia)เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดีย และแปซิฟิกประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว (อินโดนีเซีย: กาลิมันตัน), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินี (อินโดนีเซีย: อิเรียน) และ ประเทศติมอร์ตะวันออกบนเกาะติมอร์ มีพรมแดนติดกับ

ภูมิศาสตร์


ภูมิประเทศ ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศที่ประกอบด้วยหมู่เกาะต่าง ๆ มีเกาะใหญ่น้อยเกือบ 18,000 เกาะ มีภูเขาสูงอยู่ตามเกาะต่าง ๆ โดยทั่วไปเทือกเขาที่มีความสูงมาก ตามบริเวณเขามักมีภูเขาไฟและมีที่ราบรอบเทือกเขาชายเกาะมีความสูงใกล้เคียงกับระดับน้ำทะเลทำให้มีที่ราบบางแห่งเต็มไปด้วยหนอง บึง ใช้ประโยชน์ไม่ได้

ภูมิอากาศ ลักษณะอากาศแบบศูนย์สูตรมีฝนตกชุกตลอดปี แต่อุณหภูมิไม่สูงมากนัก (ประมาณ 24-30 องสาเซลเซียส) เพราะพื้นที่เป็นเกาะจึงได้รับอิทธิพลจากทะเลอย่างเต็มที่

ประชากร

จำนวนประชากร : 231,328,092 คน

เชื้อชาติ : เป็นชาวเกาะชวา 45% ชาวซุนดาน 14%, ชาวมาดูรีซ 7.5%, ชาวมลายู 7.5% และอื่นๆ อีก 26%

ภาษา : บาฮาซา อินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ(แปลงมาจากมาษามลายู), ภาษาอังกฤษ, ดัทช์, ภาษาท้องถิ่น ภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายคือภาษาชวา


ทรัพยากรและเศรษฐกิจ


ป่าไม้ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ เป็นประเทศที่มีป่าไม้มากที่สุด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผลิตผลจากป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง แร่ธาตุ แร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมทำรายได้ให้กับ ประเทศมากที่สุด อินโดนีเซียเป็นสมาชิกขององค์การประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็น สินค้าออก เกษตรกรรม มีการปลูกพืชแบบขั้นบันได พืชเศรษฐกิจ ได้แก่ข้าว ยาสูบ ข้าวโพด เครื่องเทศ ประมง ลักษณะภูมิประเทศเป็นหมู่เกาะทำใหอินโดนีเซียสามารถจับสัตว์น้ำได้มาก อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การกลั่นน้ำมัน การต่อเรือ เป็นต้น

การเมืองการปกครอง


ประเทศอินโดนีเซียมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและทำหน้าที่ปกครองประเทศ


การแบ่งเขตการปกครอง


ปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 30 จังหวัด (provinces - propinsi-propinsi) 2 เขตปกครองพิเศษ* (special regions - daerah-daerah istimewa) และ 1 เขตนครหลวงพิเศษ** (special capital city district - daerah khusus ibukota) โดยมีเมืองหลวงหรือเมืองหลักของแต่ละจังหวัด ได้แก่

ศาสนา


อิสลาม : คือศาสนาที่คนส่วนใหญ่ในอินโดนีเซียนับถือ ประชากรประมาณ 143 ล้านคน หรือ 86.9% ของชาวอินโดนีเซียนับถือศาสนาอิสลาม ทำให้อินโดนีเซียเป็นประเทศมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก

คริสต์ : ถึงแม้ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิกและโปรเตสแตนท์จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในปี 1980 แต่ก็ยังมีจำนวนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ในมะลุกุส ทางตอนใต้ของสุลาเวสี และติมอร์ในศตวรรษที่ 16 โดยนักบวชชาวโปรตุเกส

ฮินดู : ชาวอินโดนีเซียบนเกาะบาหลีส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู

พุทธ : มีผู้นับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนน้อยในอินโดนีเซีย และส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีน ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่สำคัญในอินโดนีเซียก่อนการมาถึงของอิสลาม วัดบาราบุดูร์ในชวากลาง ที่เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ก็เป็นวัดของชาวพุทธ


ความสัมพันธ์กับประเทศไทย


ประเทศไทยและอินโดนีเซียมีความสัมพันธ์ทางการทูตที่ดีต่อกันมาโดยตลอด และให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อินโดนิเซียเป็นสมาชิกสมาคมอาเซียนเหมือนประเทศไทย และมีสำนักงานใหญ่ขององค์การอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตามีประชากรมาก

ประวัติศาสตร์


อินโดนีเซียประกอบด้วยหมู่เกาะที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน แต่ต่อมาต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์อยู่นานประมาณ 300 ปี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นบุก อินโดนีเซีย และทำการขับไล่เนเธอร์แลนด์เจ้าอาณานิคมของอินโดนีเซียออกไปได้สำเร็จ จึงทำให้ผู้นำอินโดนีเซียคนสำคัญ ๆ ในสมัยนั้นให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่น แต่ไม่ได้ให้ความไว้วางใจกับญี่ปุ่นมากนัก เพราะมีเหตุเคลือบแคลง คือ เมื่อมีผู้รักชาติชาวอินโดนีเซียจัดตั้งขบวนการต่าง ๆ ขึ้นมา ญี่ปุ่นจะขอเข้าร่วมควบคุมและดำเนินงานด้วย

เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามและประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายพันธมิตร อินโดนีเซียได้ถือโอกาสประกาศเอกราชในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2488 แต่เนเธอร์แลนด์เจ้าอาณานิคมเดิมไม่ยอมรับการประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย จึงยกกองทัพเข้าปราบปราม ผลจากการสู้รบปรากฏว่าเนเธอร์แลนด์ไม่สามารถปราบปรามกองทัพของชาว อินโดนีเซียได้ อังกฤษซึ่งเป็นพันธมิตรกับเนเธอร์แลนด์จึงเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ย เพื่อให้ยุติความขัดแย้งกัน โดยให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในข้อตกลงลิงกัดยาติ (Linggadjati Agreement) เมื่อ พ.ศ. 2489 โดยเนเธอร์แลนด์ยอมรับอำนาจของรัฐบาลอินโดนีเซียในเกาะชวาและสุมาตรา ต่อมาภายหลัง เนเธอร์แลนด์ได้ละเมิดข้อตกลง โดยได้นำทหารเข้าโจมตีอินโดนีเซีย ทำให้ประเทศอื่น ๆ เช่นออสเตรเลีย และอินเดียได้ยื่นเรื่องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเข้าจัดการ สหประชาชาติได้เข้าระงับข้อพิพาท โดยตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ออสเตรเลีย เบลเยียม และสหรัฐอเมริกา เพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอม และได้เรียกร้องให้มีการหยุดยิง แต่เนเธอร์แลนด์ได้เข้าจับกุมผู้นำคนสำคัญของอินโดนีเซีย คือ ซูการ์โนและฮัตตาไป กักขัง ต่อมาทหารอินโดนีเซียนำตัวผู้นำทั้งสองออกมาได้ ในระยะนี้ทุกประเทศทั่วโลกต่างตำหนิการกระทำของเนเธอร์แลนด์อย่างยิ่ง และคณะมนตรีความมั่นคงได้กดดันให้เนเธอร์แลนด์มอบเอกราชแก่อินโดนีเซีย

ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2492 อินโดนีเซียได้รับเอกราช แต่ความยุ่งยากยังคงมีอยู่ เนื่องจากเนเธอร์แลนด์ไม่ยินยอมให้รวมดินแดนอิเรียนตะวันตกเข้ากับอินโดนีเซีย ทั้งสองฝ่ายจึงต่างเตรียมการจะสู้รบกันอีก ผลที่สุด เนเธอร์แลนด์ก็ยอมโอนอำนาจให้สหประชาชาติควบคมดูแลดินแดนอิเรียนตะวันตก และให้ชาวอิเรียนตะวันตกแสดงประชามติว่าจะรวมกับอินโดนีเซียหรือไม่ ผลการออกเสียงประชามติ ปรากฏว่าชาวอิเรียนตะวันตกส่วนใหญ่ต้องการรวมกับอินโดนีเซีย สหประชาชาติจึงโอนอิเรียนตะวันตกให้อยู่ในความปกครองของอินโดนีเซียเมื่อ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2506